// Implement
ในสมัยก่อน การหมั้นและการแต่งนิยมให้เป็นคนละวันกัน บางคู่หมั้นแล้วอีกสามเดือนหกเดือนค่อยแต่ง บางบ้านหมั้นนานเป็นปีก็มี แต่สมัยนี้นิยมสะดวก ก็อาจหมั้นและแต่งในวันเดียวกันไปเลย เครื่องขันหมากสำหรับพิธีหมั้นและพิธีแต่งคนละวันกัน จะมีธรรมเนียมว่าวันหมั้นฝ่ายหญิงเป็นผู้กำหนดว่า จะให้มีอะไร และจำนวนมากน้อยเท่าใด อย่างไรก็ตาม ถ้าวันหมั้นและวันแต่งคนละวันกัน จะมีธรรมเนียมว่า วันหมั้นฝ่ายหญิงเป็นผู้รับภาระ เรื่องการเลี้ยงหมั้น แล้ววันเลี้ยงวันแต่งงานเป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย ซึ่งข้อกำหนด ปรับเปลี่ยนได้ตามฐานะของทั้งสองฝ่าย
ความสำคัญของพิธีแต่งงานแบบจีน อยู่ที่ฤกษ์รับตัวเจ้าสาว ซึ่งทางพ่อแม่ของทั้งคู่จะนำดวงของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวไปให้ซินแสตรวจและหาฤกษ์ให้ เมื่อได้ฤกษ์แล้ว ก็จะต้องตระเตรียมงานพิธี
3 วันก่อนวันงาน เจ้าสาวสมัยเก่าจะต้องมังหมิ่ง เพื่อกันขนที่รกใบหน้าออก ถือเป็นเคล็ดลับเสริมความ-งาม แบบโบราณอย่างหนึ่ง
ในคืนก่อนวันงาน ก็จะอาบน้ำใบทับทิมและใบเซียงเช่า เพราะเชื่อกันว่าจะช่วยชำระล้างสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป จากนั้นจะสวมชุดใหม่ และนั่งลงให้หญิงที่มีชีวิตคู่ที่สมบูรณ์พูนสุข หวีผมให้พร้อมกับกล่าวอวยพรไปด้วย
และในวันแต่งงาน เจ้าสาวจะต้องเสียบปิ่นปักผมกับกิ่งทับทิมไว้บนเรือนผม เพราะเชื่อว่ากิ่งทับทิมจะช่วยให้ คนรักใคร่เอ็นดู และหมายถึงสาวบริสุทธิ์
สำหรับเรื่องปิ่น เนื่องจากคนสมัยนี้คิดว่าที่ต้องเสียบปิ่น เพราะบนปลายปิ่นมีคำว่า "หยู่อี่" ซึ่งหมายความว่า "สมหวัง" แต่แท้จริงแล้วเป็นเคล็ดลับของคนโบราณ เพราะเจ้าบ่าวบางรายไม่เคยมี ประสบการณ์การเข้าหอมาก่อนเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงเป็นครั้งแรก บางรายจีงหลั่งไม่หยุด และบางที อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ คนเฒ่าคนแก่จึง สอนเจ้าสาวไว้ว่า หากเจอเหตุการณ์เช่นนี้ ให้เอาปิ่นปักหลังเจ้าบ่าว เพื่อเขาจะได้รู้สึกตัว
เมื่อใกล้ถึงเวลาที่ทางเจ้าบ่าวมารับตัว เจ้าสาวจะต้องรับประทานอาหารกับพ่อแม่พี่น้องของตนเป็นมื้อสุดท้าย โดยมีแม่สื่อคอยคีบอาหารให้พร้อมกับกล่าวอวยพร จนได้ฤกษ์ เจ้าบ่าวก็จะนั่งรถคันโก้ผูกโบว์สีชมพู ที่กระโปรงหน้ารถ มายังบ้านเจ้าสาวในการรับตัวเจ้าสาว เจ้าบ่าวจะต้องนำหมูดิบมามอบให้แม่เจ้าสาว แทนยาบำรุงที่ท่านอุตส่าห์ตั้งท้องเจ้าสาวมา เมื่อ พบหน้าเจ้าสาวแล้ว ทั้งคู่ก็ยังต้องผ่านด่านของผู้ที่มากั้นประตู แจกอั่งเปาจนหนำใจเสียก่อน จึงจะลงจากห้องมาทำพิธีที่ชั้นล่างได้
ถึงตอนนี้ ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ (ที่เรียกว่า "ตี่จูเอี๊ย") ไหว้เทพเจ้าเตาไฟ ซึ่งอยู่ในครัว และไหว้บรรพบุรุษของเจ้าสาว ถ้าหากปู่ย่าตายายของเจ้าสาวยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องไหว้กับตัว เพื่อบอกกล่าวให้ท่านทราบว่า เจ้าสาวกำลังจะจากครอบครัวไปแล้ว จากนั้นจึงทำการคารวะน้ำชาพ่อแม่เจ้าสาว
เมื่อเสร็จสิ้นพิธีทางบ้านเจ้าสาว ก็มาถึงตอนที่เจ้าสาวจะต้องนั่งรถไปกับเจ้าบ่าว พร้อมด้วยคนถือตะเกียง ซึ่งจะต้องเป็นญาติผู้ชายของฝ่ายหญิง รวมทั้งคนหาบขนม ในการนี้พ่อเจ้าสาวจะเป็นคนจูงเจ้าสาวขึ้นรถ พลางกล่าวอวยพร พร้อมกับพรมน้ำใบทับทิมให้ด้วยว่า "ขอให้น้ำศักดิ์สิทธิ์นี้เปลี่ยนคุณหนูให้เป็นคุณหญิง"และก่อนที่เจ้าสาวจะเข้าบ้านเจ้าบ่าว ถ้าหากเจ้าสาวมีประจำเดือนก็ต้องก้าวข้ามกระถางที่จุดไฟไว้ จึงจะเข้าบ้านได้ แต่ถ้าหาเจ้าสาวไม่มีประจำเดือน ก็ไม่จำเป็น
ทันทีที่เข้ามาในบ้าน บ่าวสาวจะไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพเจ้าเตาไฟ และไหว้บรรพบุรุษของเจ้าบ่าว แบบเดียวกับที่ทำที่บ้านเจ้าสาว จากนั้นจึงคารวะน้ำชาพ่อแม่ และยกน้ำชาให้ญาติผู้ใหญ่ พิธีการนี้ ถือเป็นการแนะนำให้ญาติๆ รู้จักสะใภ้หน้าใหม่ไปด้วยในตัว และท่านก็จะแจกอั่งเปาพร้อมทั้งอวยพรให้เป็นการตอบแทน
บ่าวสาวจะทานบัวลอยไข่หวานด้วยกัน เพื่อทั้งคู่จะได้รักใคร่ปรองดอง และหวานชื่นเหมือนรสชาติ และสีของขนม พอรุ่งเช้าถัดจากวันแต่งงาน เจ้าสาวจะต้องตื่นขึ้นมาปฎิบัติหน้าที่ลูกสะใภ้ปรนนิบัติพ่อแม่ สามีด้วยการยกน้ำล้างหน้าให้ท่าน บางครอบครัวอาจจะปฎิบัติตามธรรมเนียมนี้ 3 วันหรือบางราย 12 วัน
3 วันหลังจากวันแต่งงาน น้องชายของภรรยาจะเป็นฝ่ายไปรับคู่สามีภรรยาหน้าใหม่ กลับมาเยี่ยมและรับประทาน อาหารที่บ้านเจ้าสาว และเจ้าสาวจะได้รับการต้อนรับเยี่ยงแขกคนหนึ่ง
ระหว่างนี้เจ้าบ่าวจะต้องให้หญิงหรือชาย ซึ่งมีลูกดกและคู่ชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ มาทำพิธีปูเตียงในห้องหอ โดยจะวางส้ม 4 ลูกไว้บนเตียงทั้ง 4 มุม เมื่อปูเสร็จแล้วก็ต้องทิ้งไว้อย่างนั้น ยังไม่ให้เจ้าบ่าวนอน
การเตรียม "ขนมขันหมาก" ซึ่งเป็นขนมและผลไม้ต่างๆ มามอบให้ครอบครัวเจ้าสาวก่อนวันงานจะต้องติด กระดาษแดงเป็นตัวอักษรภาษาจีน ที่แปลเป็นไทยว่า "ความสุขยกกำลังสอง"
เพ้ง คือ เงินสินสอด แล้วแต่ฝ่ายหญิงจะเรียกร้อง แต่ถ้าเจ้าสาวยังมีอากง อาม่าหรือปู่ย่าอยู่ฝ่ายชาย ต้องจัดเงินอั้งเปาอีกก้อนหนึ่งให้เป็นพิเศษด้วยพร้อมชุดหมู 1 ชุดอีกต่างหาก โดยพ่อแม่เจ้าสาวจะเป็นผู้รับขึ้นมา
กิม คือ ทอง แล้วแต่ฝ่ายหญิงจะเรียกเช่นเดียวกัน แต่ถ้าจะพิถีพิถันก็อาจขอเป็น "สี่เอี่ยกิม"แปลว่าทอง 4 อย่าง เพราะเลข 4 เป็นเลขดีของคนจีน ทอง 4 อย่าง เช่น กำไลทอง สร้อยคอทองคำ ตุ้มหูทอง เข็มขัดทอง
ต้องยกมาทั้งเครือเขียวๆ ถ้าได้จำนวนหวีเป็นเลขคู่ยิ่งดี แล้วนับจำนวนให้ลงเลขคู่ ถ้าได้ลูกแฝดด้วยก็จะดีมาก เวลาใช้ให้เอากระดาษแดงพันก้านเครือและติดตัวหนังสือ "ซังฮี่" บนเครือกล้วย และทาสีแดงบนลูกกล้วยทุกใบ และฝ่ายชายจะต้องเป็นผู้เอากลับ เมื่อพิธีสู่ขอเสร็จแล้วกล้วยเป็นผลไม้ที่มี 2 นัยมงคล
-- จำนวนผลที่มากมาย อวยพรให้มีลูกหลานสืบสกุลมาก ๆ
-- ดึงสิ่งดีๆให้มาเป็นของเรา ซัง แปลว่าคู่ ฮี่ แปลว่า ยินดี ซังฮี่ จึงแปลว่า ความยินดีของหญิงชายคู่หนึ่ง ซึ่งก็คือคู่บ่าวสาวนั่นเอง
อ้อย 1 คู่ ยกมาทั้งต้นเพื่ออวยพรให้ชีวิตคู่หวานชื่น แต่บางบ้านไม่เอาเพราะเป็นความหวาน ที่กินยากต้องทั้งปอกทั้งแทะ
ส้มเป็นผลไม้มงคลให้โชคดี นิยมใช้ส้มเช้งเขียวติดตัวหนังสือซังฮี่สีแดงทุกผล และต้องให้จำนวนเป็นเลขคู่แล้วแต่ฝ่ายหญิงกำหนด
ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้กำหนดทั้งชนิดและจำนวน การกำหนดชนิดคือ จะให้เป็นขนม 4 สีเรียกว่า "ซี้เส็กหม่วยเจี๊ยะ" หรือขนม 5 สี เรียกว่า "โหงวเส็กทึ้ง" ประกอบด้วยขนมเหนียวเคลือบงา, ขนมเปี๊ยะโรยงา, ขนมถั่วตัด, ขนมข้าวพองทุบ และขนมโก๋อ่อนนอกจากนี้บางบ้านอาจขอให้มีน้ำตาลทราย, ซาลาเปาไส้หวาน, และคุกกี้กระป๋องด้วย โดยจำนวนของขนมแต่งงานและคุกกี้กระป๋องฝ่ายหญิงมักกำหนดจำนวน โดยนับจากจำนวนของญาติมิตรที่จะเชิญ มีคำเรียกการให้ขนมแต่งงานแก่ญาติมิตรว่า "สั่งเปี้ย"สั่ง หรือ ซั้ง แปลว่า ให้เปี้ย แปลว่า ขนม ในที่นี้หมายถึงขนมหมั้นหรือขนมแต่งงาน
- ถาดที่ 1 : เป็นชุดหัวหมูพร้อม 4 เท้าและหางโดยเล็บเท้าต้องตัดเรียบร้อยติดตัวหนังสือซังฮี่
- ถาดที่ 2 : เป็นถาดขาหมูสดติดตัวซังฮี่เช่นเดียวกัน
- ถาดที่ 3 : เป็น "โต้วเตี้ยบะ" เท่านั้นคือเป็นเนื้อหมู ตรงส่วนท้องของแม่หมูเพื่ออวยพรให้เจ้าสาวได้เป็นแม่คน แม่ที่อุ้มท้องเพื่อให้กำเนิดบุตรแก่ฝ่ายชาย
และมีธรรมเนียมว่าทางฝ่ายหญิง ก็ต้องให้ชุดหมูสดตอบแทนแก่ฝ่ายชาย แต่ชุดหมูของฝ่ายหญิงจะเป็นชุดหัวใจหมูที่ต้องสั่งพ่อค้าเป็นพิเศษว่าเป็นชุดหัวใจทั้งยวง ที่ยังมีปอดและตับติดอยุ่ด้วยกัน เมื่อเสร็จพิธีชุดหัวใจนี้อาจทำได้เป็น 2 แบบ
- แบบที่ 1 : คือ ฝ่ายหญิงแบ่งชุดหัวใจให้ฝ่ายชายไปครึ่งหนึ่ง
- แบบที่ 2 : คือ เอาชุดหัวใจนี้ไปประกอบอาหารให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวรับประทานร่วมกัน เพื่อเป็นเคล็ดอวยพร ให้หญิงชายมีจิตใจร่วมกันเป็นใจหนึ่งใจเดียวกัน
ฝ่ายชายต้องเตรียมของไหว้ 2 ชุด
- ชุดที่ 1: สำหรับไหว้เจ้าที่
- ชุดที่ 2: สำหรับไหว้บรรพบุรุษ
การจัดเตรียมของไหว้ที่ครบถ้วนจะต้องมีทั้งของคาว ขนมไหว้ ผลไม้ไหว้ เหล้า อาหาร 10 อย่าง ธูปเทียนดอกไม้ และมีของไหว้พิเศษคือเส้นหมี่ เพื่ออวยพรให้ชีวิตคู่ยืนยาว และนิยมหาเถ้าแก่ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่นับถือและมีชีวิตครอบครัวทีดีมาเป็นผู้นำขบวนหรือช่วยถือของขันหมาก เพื่อเป็นสิริมงคล
มีหลายอย่างที่นิยมแบ่งกันคนละครึ่งเช่น ขาหมู 2 ขาก็คนละ 1 ขา อ้อย ขนมขันหมาก ชุดลำไยแห้ง ต้นชุงเฉ้า ส่วนของที่ฝ่ายชายต้องเอากลับไปทั้งหมดก็คือ กล้วยเขียวเครือใหญ่, เอี๊ยมแต่งงาน, ชุดหัวใจหมู,ถาดไข่, และถาดส้มเช้งของฝ่ายหญิง
ส่วนทางเจ้าสาว ก็เตรียมสัมภาระที่จะนำติดตัวไปด้วย เช่น กระเป๋าเดินทาง เซฟใส่เครื่องประดับ หมอนปักรูปหงส์มังกร 1 คู่ บางรายก็อาจจะเพิ่มผ้านวมหรือเครื่องนอนชิ้นอื่นๆ รวมทั้งเสื้อเอี๊ยม เพื่อให้รู้ว่าเป็นเมียเอกนะ เจ้าสาวบางรายที่มีฐานะดีๆ สายคล้องคอเอี๊ยมก็จะเป็นสร้อยทอง และในเสื้อเอี๊ยมนี้จะใส่โหงวอิ๊กอี้ ซึ่งเป็นผลไม้ตากแห้ง และต้นชุ่งเช่าไว้สำหรับนำไปปลูกที่บ้านเจ้าบ่าวพร้อมกาละมังลายนกคู่ กระโถนกับกาตอเฉียะ (ไม้วัด และกรรไกรตัดผ้า) รวมทั้งเข็มและด้าย เพื่อให้รู้ว่าเจ้าสาวเป็นคนเย็บปักถักร้อยเก่ง ข้าวของเครื่องใช้จะต้องเป็นสีแดง หรือสีชมพูเท่านั้น
ตัวเอี๊ยมเป็นสีแดงสีมงคลให้เฮงๆ ปักลายอักษรซังฮี่หรือคู่ยินดีและปักตัวหนังสือ 4 คำ "แป๊ะนี้ไห่เล่า" แปลว่าอยู่กินกันจนถึงร้อยปี พร้อมด้วยลวดลายมังกรและหงส์ซึ่งลายนี้มีชื่อเรียกว่า "เล้งหงกิ๊กเซี้ยง" ให้ความหมายว่าถึงเวลาแห่งความสุขและความรุ่งเรืองที่กำลังมาหา ขอให้คู่สมรสได้พบแต่สิ่งดีๆในชีวิตใหม่ คือชีวิตคู่ของการอยู่ร่วมกันบนเอี๊ยมมีกระเป๋าให้ใส่ "โหงวเจ๊งจี้" หรือเมล็ดธัญพืช 5 อย่างคือ ข้าวเปลือกข้าวสาร ถั่วเขียว สาคู ถั่วดำห่อใส่กระดาษแดงอวยพรให้สามีภรรยา และลูกของตระกูลได้งอกงามรุ่งเรืองพร้อมทั้งใส่เหรียญทองลายมังกรเรียกว่า เหรียญกิมเล้ง เพื่ออวยพรให้ร่ำรวยบางบ้านอาจมีใส่เงินทองเพิ่มเข้าไปด้วย แล้วใส่ต้นชุงเฉ้าหรือต้นเมียหลวงที่หน้าตาคล้ายต้นกุยช่าย ต้นชุงเฉ้านี้คนจีนถือเป็นต้นไม้มงคลหมายถึงเกียรติ และที่ปากกระเป๋าเอี๊ยมให้เสียบ "ปิ่นทองยู่อี่" ไว้ให้หมายความว่าทุกเรื่องให้สมปรารถนาในวันส่งตัวฝ่ายชายต้องเอาปิ่นยู่อี่มาคืน เพื่อให้เจ้าสาวได้ติดผมตอนส่งตัวสายของเอี๊ยมนิยมใช้โซ่ทองคล้องใส่ไว้ ถ้ารวยจริงก็ใช้ทองจริงนิยมเป็นทองหนัก 4 บาทเพราะถือเคล็ดเลข 4 เป็นเลขดี
ไข่สีแดง 1 ถาดจัดเป็นเลขคู่บางบ้านเตรียม 24 ลูกเพื่ออวยพรเป็นนัยว่าเจ้าสาวจะไปให้กำเนิดลูกหลานมากๆ
โอวเต่ากิ๊วคือ ขนมถั่วดำคลุกน้ำตาลมีแซมข้าวพองสีแดงทำเป็นลูกกลมๆ ที่ร้านขนมบอกว่านิยมใช้ 14 ลูกหรือ 7 คู่
ส้มเช้งติดตัวซังฮี่ 1 ถาดใหญ่มีจำนวนส้มเป็นเลขคู่บางบ้านมีจัดส้มสีทองปนไป 4 ลูกด้วย
ชุดลำไยแห้ง 2 ชุด
ต้นชุงเฉ้า 2 ต้น ห่อด้วยน้ำตาลทรายแดง และกระดาษแดง (ผูกเชือกแดงติดกัน)
เตรียมไว้มากๆ แล้วนำมาแบ่งใส่ประดับในของทุกถาดที่ฝ่ายชายจะต้องยกกลับ
บางบ้านไม่นิยมไข่ก็จัดเป็นเผือกคนจีนเรียก "โอวเท้า" หมายถึงความสมบูรณ์นิยมจัดเป็นเลขคู่
เอาไว้โรยในของต่างๆ เป็นเคล็ดอวยพรสาคูเม็ดกลมๆ คู่บ่าวสาวกลมเกลียวกัน
มีหลายอย่างที่นิยมแบ่งกันคนละครึ่งเช่น ขาหมู 2 ขาก็คนละ 1ขา อ้อย ขนมขันหมาก ชุดลำไยแห้ง ต้นชุงเฉ้า ส่วนของที่ฝ่ายชายต้องเอากลับไปทั้งหมด ก็คือ กล้วยเขียวเครือใหญ่, เอี๊ยมแต่งงาน, ชุดหัวใจหมู, ถาดไข่, และถาดส้มเช้งของฝ่ายหญิง
คนจีนหลายบ้านมีธรรมเนียมว่า ในคืนวันส่งตัวเจ้าสาวจะทำอาหาร 10 อย่างที่เป็นเคล็ดมงคลอวยพรให้คู่บ่าวสาวได้รับประทานได้แก่
1. วุ้นเส้น หรือเส้นหมี่ หรือบะหมี่ หมายความว่า ให้รักกันนานๆ อายุยืนยาว
2. เห็ดหอม หมายความว่า ให้ชีวิตคู่หอมหวาน
3. ผักกู้ช่าย หรือกุ้ยช่าย หมายความว่า ให้รักกันนานๆ หรือขอให้รวย
4. ผักเกาฮะไฉ่ หมายความว่า ให้รักใคร่ปรองดองกัน
5. หัวใจหมู หมายความว่า ให้รักกันเป็นใจเดียว
6. ไส้หมู-กระเพาะหมู หมายความว่า ให้ปรับตัวเข้าหากัน นิสัยใดไม่ดีก็ให้เปลี่ยนเป็นนิสัยที่ดีเพื่อให้มีความสุขและรักกันยืนยาว
7. ตับ หมายความว่า ให้มีความรุ่งเรืองและเจริญก้าวหน้า
8. ปลา หมายความว่า ให้ร่ำรวยเหลือกินเหลือใช้
9. ปู หมายความว่า ให้ทำอะไรได้คล่องแคล่วว่องไว ขยันทำมาหากินและงานสำเร็จลุล่วงเร็วไว (เหมือนปูที่เดินเร็ววิ่งเร็ว)
10. ไก่ หมายความว่า ให้มีความกล้าหาญ มีสติปัญญาและมีความเที่ยงตรง
พิธีแต่งงานของจีนเป็นเรื่องที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมและ ขนมธรรมเนียมประเพณี ที่เห็นตรงนี้คือของจำเป็น 10 อย่างในพิธีแต่งงานสำหรับคู่บ่าวสาวเพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงชีวิตสมรส ที่เต็มไปด้วยความเจริญรุ่งเรือง ความรัก เสียงหัวเราะและลูกหลานเต็มบ้านสำหรับเครือญาติทั้งสองฝ่าย
คู่สมรสทั้งหลายควรมีรูปจำลองของมังกรและหงส์ไว้ในบ้าน เพราะมังกรและหงส์เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตสมรสที่สมบูรณ์พูนสุขเปี่ยมไปด้วยความสำเร็จราบรื่นและความเจริญรุ่งเรือง รวมไปถึงการมีลูกชายหลายคนด้วย
ใช้สำหรับตกแต่งสถานที่ประกอบพิธีแต่งงานและห้องหอ โดยใช้สัญลักษณ์อักษรคู่แห่งความสุข มังกรและหงส์ เป็ดแมนดารินคู่เงื่อนมงคล ดอกโบตั๋น และลูกท้อสำหรับความรักที่ยั่งยืนในชีวิตคู่
เป็นเทียนคู่สีแดงสำหรับพิธีแต่งงาน โดยเล่มหนึ่งตกแต่งด้วยลวดลายมังกร ส่วนอีกเล่มหนึ่งเป็นลายหงส์พร้อมกับสัญลักษณ์อักษรคู่แห่งความสุข ตามประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจะมีการจุดเทียนคู่ไว้ในห้องหอ ในคืนวันแต่งงานเพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้าย
สีแดงและทองดอกไม้ที่ทำจากผ้าไหมและกำมะหยี่ (โดยทั่วไปมักเป็นดอกโบตั๋นสีแดงสด) นำมาผูกติดไว้กับผ้าริบบิ้นสีแดง ซึ่งมีตัวหนังสือติดไว้ว่า “เจ้าสาว” และ“เจ้าบ่าว” รวมไปถึง“เพื่อนเจ้าบ่าว” และ“เพื่อนเจ้าสาว” หรือแม้กระทั่ง“ผู้นำในการประกอบพิธี” และขนาบข้างด้วยลายมังกรและหงส์สีทองเพื่อความเป็นสิริมงคล
เป็นชุดพร้อมกับช้อนและตะเกียบทองสำหรับชามแต่ละใบ มักประดับประดาด้วยลวดลายรูปมังกรและหงส์ พร้อมด้วยสัญลักษณ์อักษรคู่แห่งความสุข คู่บ่าวสาวจะต้องรับประทานอาหารมื้อแรกร่วมกันฉันสามีภรรยาด้วย ชุดชามข้าวมงคลนี้เพื่ออนาคตที่รุ่งเรืองอันจะมีร่วมกัน
ประกอบด้วยหมอนปักเข็มทรงกลมล้อมรอบด้วยตุ๊กตารูปเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ 10 ตัว(ช่วยนำโชคในเรื่องทายาทสืบสกุล) ด้ายห้าสี (เป็นสัญลักษณ์ของธาตุทั้งห้า) แป้งผัดหน้า หวีไม้ กระจกกลม เชือกเกลียวสีแดง และชุดบางสำหรับใส่นอน
ประดับประดาด้วยรูปเป็ดแมนดารินคู่ และสัญลักษณ์อักษรคู่แห่งความสุขในหนึ่งชุดประกอบด้วย เหยือก ถาดชา อ่างล้างหน้า และกระโถน ภาชนะทั้งหมดนี้จะถูกบรรจุไว้ด้วยผลไม้ และพวงเงินเหรียญสำหรับงานพิธีเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตสมรสที่เจริญรุ่งเรืองและสมบูรณ์พูนสุข
เจ้าสาวต้องพกคันฉ่องกลมขนาดเล็กไว้ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่างๆ และเพื่อคุ้มกันภัยจากการกระทำของปีศาจทั้งปวงในระหว่างพิธีแต่งงาน เพราะวิญญาณร้ายอาจเกิดความอิจฉา กระจกพิเศษนี้ตกแต่งด้วยสัญลักษณ์อันเป็นมงคลอันได้แก่ ค้างคาวทั้งห้า และสัญลักษณ์แห่งการมีอายุมั่นขวัญยืนเพื่อนำโชคดี และความราบรื่นตลอดพิธีแต่งงาน
ซองแดงที่มีลายพิมพ์ด้วยหมึกสีทองเป็นสัญลักษณ์อักษรคู่แห่งความสุข ซองเหล่านี้จะใส่เงินไว้สำหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ในระหว่างพิธีสมรสเช่น การเล่นกั้นประตู พิธียกน้ำชา เป็นต้น
ที่ตะเกียงสลักด้วยคำมงคลที่มีความหมายถึงชีวิตสมรสที่มีความสุขยั่งยืน ตะเกียงคู่นี้จะต้องวางเอาไว้ที่หัวนอนของคู่สมรสเพื่อจะได้นำมาซึ่งการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสมบูรณ์พูนสุข
เจ้าสาวจะต้องอาบน้ำใบทับทิมก่อนที่จะสวมชุดเจ้าสาว บางบ้านก็อาบก่อนนอน บางบ้านก็มาอาบตอนเช้าวันแต่ง เพื่อชะล้างสิ่งไม่ดีออกไปให้เจ้าสาวมีแต่สิริมงคล ความโชคดีติดตัวเมื่อแต่งตัวทำผมเสร็จแล้ว ให้แม่เจ้าสาวนำปิ่นปักผมมาปักผมให้เจ้าสาว พันก้านทับทิมด้วยด้ายแดง และเวลาเอาออก ก็ให้เจ้าบ่าวเป็นคนเอาออกเท่านั้น
เจ้าสาวจุดธูปไหว้ก่อนออกจากบ้าน ของไหว้มีดังนี้
1. สาคู 4 ถ้วย
2. น้ำชา 4 ถ้วย
3. ขนมจับกิ้ม 1 จาน
4. ส้ม 4 ลูก
พอคุณพ่อ คุณแม่จุดธูปไหว้เสร็จให้เจ้าบ่าว-เจ้าสาวไหว้ด้วย แต่ไม่ต้องจุดธูป
หมายเหตุ : สำหรับสาคู น้ำชา ส้ม จะใช้ 5 ถ้วยก็ต่อเมื่อที่บ้านมีตี่จุ๋ยเอี้ยเท่านั้น นอกนั้นใช้แค่ 4 ถ้วย
ก่อนจะเดินไปขึ้นรถให้คุณพ่อเตรียมน้ำใส่ขันไว้ 1 ใบในน้ำจะต้องก้านทับทิม 1 มัดและชุงเฉ้า 1 มัดนำใบทั้ง 2 มัดเข้าด้วยกัน ก่อนออกจากบ้าน คุณพ่อจูงลูกสาวมายืนรอที่ประตูบ้านก่อน และนำน้ำที่ว่านี้พรมตั้งแต่หน้าประตูไปถึงรถ พรมเข้าในรถแล้วก็พรมตั้งแต่ท้ายรถไปยังหน้ารถ แล้วกลับมาจูงเจ้าสาวขึ้นรถ ตามด้วยเจ้าบ่าวคนถือเซฟ (นั่งข้างเจ้าบ่าวเจ้าสาว) คนถือตะเกียง (นั่งข้างคนขับ) พอขึ้นรถเสร็จ จึงนำน้ำที่เหลือในขันนั้น สาดรดตั้งแต่หน้ารถไปยังถนน หมายถึงหนทางข้างหน้าที่เจ้าบ่าว-เจ้าสาวจะเดินนั้น มีแต่ความราบรื่นตลอดไป
การถือตะเกียงมักจะให้เด็กผู้ชาย เป็นคนถือตะเกียงเนื่องจากคนจีนมีความเชื่อว่า เวลามีลูกคนแรกจะได้ลูกเป็นผู้ชายเอาไว้สืบสกุล ดังนั้นตะเกียงจะต้องไม่มีการตกแต่งด้วยโบว์หรือริ้นบิ้นเป็นอันขาด บนตะเกียงจะถูกตกแต่งด้วยตัวหนังสือซังฮี้เพื่อความเป็นสิริมงคล และที่สำคัญตะเกียงมักใช้สีแดง ตะเกียงจะเปิดที่หน้าบ้านเจ้าบ่าว (ก่อนเข้าบ้าน)แต่ต้องจุดไว้ 3 วัน และจะปิดก็ต่อเมื่อกลับบ้านเจ้าสาวแล้ว
เมื่อไปถึงหน้าบ้านเจ้าบ่าวให้คุณพ่อ คุณแม่ พี่ น้องของเจ้าบ่าวหลบให้หมดไม่ให้เผชิญหน้ากับเจ้าสาวก่อนเข้าบ้าน เจ้าบ่าวให้คนถือตะเกียงเปิดตะเกียงก่อนเข้าบ้าน ตะเกียงจะเดินนำตามด้วยเจ้าบ่าว-เจ้าสาวตามด้วยคนถือเซฟเดินเข้าห้องหอ เสร็จค่อยเดินลงมาไหว้พระในบ้าน
1. ส้ม 5 ลูก
2. ขนม 1 จาน
3. ชา 5 ถ้วย
4. ขนมอี๊ 5 ชาม
5. เทียนแดง
6. ขาเทียน (ที่เจ้าสาวเตรียมมา)
7. กระถางธูป
8. ธูปเจ้าสาว 5 ดอก / เจ้าบ่าว 5 ดอก
ให้เจ้าบ่าว เจ้าสาวไหว้ฟ้าดิน เสร็จแล้วให้ไหว้พระในบ้านทำเหมือนปกติ (ลำดับตามที่เคยไหว้) ของเตรียมเหมือนกันแต่เป็น 4 ถ้วยเท่านั้น ถ้ามีเจ้าที่ (ตี่จุ้ยเอี๊ยะ)จะเป็น 5 ถ้วยหลังจากไหว้เจ้าเสร็จแล้วญาติออกมาเจอกันได้ตามปกติ ถ้ามีเวลาเหลือเราจะยกน้ำชาญาติๆเลยก็ได้ หรือจะไปยกน้ำชาที่งานเลี้ยงก็ได้ แล้วแต่เวลาความเหมาะสม
การยกน้ำชานั้น เจ้าสาวเป็นฝ่ายเตรียมชุดน้ำชา ใบชาซึ่งในกระปุกใบชานี้จะมีน้ำตาลกรวดผสมมา 1 หยิบมือเล็กๆเพื่อญาติๆฝ่ายเจ้าบ่าวดื่มชาแล้วจะได้รักและเอ็นดูเจ้าสาว ในการยกน้ำชา ญาติผู้ใหญ่จะให้เงิน ทองเป็นของรับขวัญ ส่วนเจ้าสาวจะแสดงการขอบคุณด้วยผ้าขนหนูที่เตรียมมา แต่ถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่ให้เตรียมผ้าตัดชุด แต่ถ้าเป็นพี่น้องเจ้าบ่าวให้เตรียมผ้าตัดเสื้อเท่านั้น
เงินสินสอด - ทองหมั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ของเจ้าสาวจะไม่เก็บ (จะยกให้ลูกหมด)เราจะวางไว้ในเซฟที่ฝ่ายหญิงเตรียมไป โดยแบ่งเงินใส่ไว้ในซอง 4 ซอง (เป็นซองรับขวัญ)ดังนี้
1. ซองให้ลูกเขยซื้อที่ดิน
2. ซองให้ลูกเขยซื้อชุด
3. ซื้อเฟอร์นิเจอร์
4. ซองรวมเบ็ดเตล็ด
หมายเหตุ : ซองให้ลูกเขยซื้อที่ดิน จะมีจำนวนเงินเยอะที่สุด
ตอนเช้าในวันที่ 3 โดยปกติจะกลับบ้านเจ้าสาวได้ก็ต่อเมื่อผ่านไป 3 วัน 7 วัน 12 วันแล้วแต่กรณีทางบ้านเจ้าสาวจะส่งน้องชายหรือพี่ชายของเจ้าสาวมารับ พร้อมทั้งน้ำมันเบบี้ออยส์ 2 ขวด(หมายถึง ทางสะดวกราบรี่น) เมื่อน้องหรือพี่ชายของเจ้าสาวมาถึงทางบ้านเจ้าบ่าวจะจัดเลี้ยงต้อนรับ เมื่อทานเสร็จก็จะพากันกับไปบ้านเจ้าสาว (พี่น้อง+เจ้าบ่าว+เจ้าสาว) สิ่งที่เจ้าบ่าวต้องเตรียมไปบ้านเจ้าสาว คือขนม 2 ห่อและตะกร้า(ที่ใส่ชุดกรรไกรมาในวันแต่ง ให้เอาของออกให้หมดแล้ว นำตะกร้าเปล่ากลับมาบ้านเจ้าสาว) เมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาว คุณพ่อ คุณแม่เจ้าสาวเตรียมอาหารไว้เลี้ยงลูกเขย ลูกสาว ส่วนขนมที่นำมา 2 ห่อให้คุณพ่อคุณแม่เก็บขึ้นมา 1 ห่อไว้ไหว้เจ้าที่ (ตี้จู้เอี๊ยะ)ส่วนอีก 1 ห่อให้คืนเจ้าบ่าวไป คุณแม่เตรียมส้ม 12 ใบปักก้านทับทิม 1 ก้าน ขนมที่คืนให้เจ้าสาว 1 ห่อไปไหว้เจ้าที่บ้านเจ้าบ่าว ส้ม 12 ใบให้เจ้าบ่าว-เจ้าสาวนำไปแบ่งกันทาน ส่วนขนมแบ่งกันทานในครอบครัวเจ้าบ่าว ส่วนก้านทับทิมให้ปักไว้ที่กระถางธูปของเจ้าที่
ขบวนพานขันหมาก ยืนยังไง ดูตำแหน่งการจัดวางได้ตามรูปเลยค่ะ
เข้าไปกดถูกใจ เพื่อติดตามและชมภาพ บรรยากาศการจัดงานบางส่วนได้ในเฟสบุ๊คค่ะ
การสั่งจองเพื่อล็อคคิว วันจัดงาน
# สำหรับลูกค้าที่สั่งจองแพ็คเกจพานขันหมาก และแพ็คเกจจัดงานที่โรงแรม มัดจำที่ 50%
# สำหรับลูกค้าที่สังจองแพ็คเกจจัดงานที่บ้าน หรือสถานที่ต่างๆ มัดจำที่ 10,000 บาท
# ขอสงวนสิทธิ์วันจัดงานสำหรับผู้ที่วางเงินมัดจำแล้วเท่านั้น
# ราคาดังกล่าว ยังไม่รวมค่าขนส่ง กรุงเทพฯ และปริมณฑล แล้วแต่ระยะทางค่ะ
14/18 รามอินทรา40แยก33 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230
(Click)